วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2แนวคิด ทฤษฎีด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา




ปรัชญาการศึกษา
                                      เป็นความคิด ความเชื่อถือ ที่ใช้หลักในการคิดและการจัดหลักสูตรและการสอนให้แก่ผู้เรียน (ทิศนา แขมมณี) เป็นเรื่องของความเชื่อพื้นฐาน หรือเหตุผลเบื้องหลังของการจัดการศึกษาของคนใดคนหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีอยู่ชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือซ่อนเร้นอยู่ในความรู้สึก ความคิดและการกระทำของบุคคล
ต่าง ๆ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์)
                                          ระบบหรือแนวความคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของการศึกษา ได้แก่ ความมุ่งหมาย นโยบาย เนื้อหาสาระ ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน การบริหารการศึกษา ฯลฯ อันเป็นผลเนื่องมาจากการศึกษาวิเคราะห์และกลั่นกรองอย่างรอบคอบโดยอาศัยปรัชญาเป็นพื้นฐาน
มุ่งศึกษาวิเคราะห์สาระและธรรมชาติของการศึกษา เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายและวิธีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับคุณค่าและความหมายของชีวิตที่ดีตามอุดมการณ์ของสังคม
(วิจิตร ศรีสอ้าน)
            (1) วิธีสอนโดยใช้ Internet
              วิธีสอนโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Internet) เป็นการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อคอมพิวเตอร์ ทั้งในแบบออฟไลน์ ในรูปซีดี-รอม และแบบออนไลน์ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ  โดยเนื้อหาของบทเรียนอยู่ในรูปข้อความ ภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ หรือมัลติมีเดีย และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
             (2) วิธีสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้
            - แหล่งการเรียนรู้ เป็นสถานที่หรือบุคคลที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้หรือประสบการณ์ตรง
            - แหล่งการเรียนรู้มีความสำคัญต่อผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
            - แหล่งการเรียนรู้จำแนกได้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ แหล่งการเรียนรู้บุคคล แหล่งการเรียนรู้อาชีพ และแหล่งการเรียนรู้สังคม
            (3) วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
                              สถานการณ์จำลอง  คือ  การนำเอาสถานการณ์จริงจำลองหรือมาจัดใหม่  แต่พยายามให้มีสภาพใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  แล้วให้ผู้เรียนอยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือปฏิบัติงาน
                              การจัดสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียน  จะทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกการแก้ปัญหา  การควบคุมสถานการณ์  การตัดสินใจ  ตลอดจนการทำงานเป็นกลุ่ม  ภายใต้สภาพแวดล้อมสมจริง
            (4) วิธีสอนโดยใช้การทดลอง
             - การสอนโดยใช้การทดลอง เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียน
                 ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 
               - ลำดับขั้นตอนการสอนเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมการ
                  ทดลอง  ขั้นนำเข้าสู่การทดลอง  ขั้นดำเนินการ
                  ทดลอง และขั้นเสนอผลสรุปและอภิปรายผล 


                              ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
              วสันต์  อติศัพท์ กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หรือ นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง นวและ กรรม  ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
              นวักรรมการศึกษาก็หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
              เทคโนโลยี”(Technology)ในการจัดการเรียนการสอน เช่นโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้คอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอน นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ซอฟแวร์ในคอมพิวเตอร์ สั่งการตามลำดับขั้นการใช้วิดีโอเทปการใช้วิทยุ ใช้โทรทัศน์ช่วยสอนรับบทเรียนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

                              นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH
              การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี(Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง2อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็มว่า“Innovation Technology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน
             
              ในปัจจุบันถือว่าเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องนำเอาหลักวิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่เป็นInnovation มาใช้ร่วมกันไปกับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอนซึ่งเป็นTechnologyนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำ INNOTECH เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา

                            หลักการและทฤษฎีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
            1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
            1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
            1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
            1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
            2. ทฤษฎีการสื่อสาร
            3. ทฤษฎีระบบ
            4. ทฤษฎีการเผยแพร่

                            หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้
              ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ
            1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
            2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)

                              กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
              นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
              ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
              ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ทอนไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
            1. กฎแห่งการผล (Low of Effect)
            2. กฎแห่งการฝึกหัด (Lowe of Exercise)
            3. กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness)
              ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า ปฏิกริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
                              การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
            1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
            2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
            3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
            4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
                             
ทฤษฎีการรับรู้
                        การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
            จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน 13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3%
            การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า
                                  กลุ่มความรู้ (Cognitive)
                        นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual experience) ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory หรือ ทฤษฎีสนามนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ เช่น โคเลอร์(kohler) เลวิน (Lawin) วิทคิน (Witkin)
              แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ  
            การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ (Cognition) มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศนศึกษา (Audio Visual)
                              ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
                     ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences Theory) ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus-Response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory) ของกาเย่(Gagne)และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur, 1966) อธิบายว่า บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น
             
            ความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและ การเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน ได้แก่
              1) มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล
            2) ความแตกต่างนี้บางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาค หรือทาง ร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้
              3) มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ จะเปิดรับความคิดเห็น แตกต่างกันไป
              4) การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป
           
                            ทฤษฎีการพัฒนาการ
            ทฤษฎีพัฒนาการของเปียเจท์
                        ได้อธิบายว่าการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของผู้เรียนนั้น เกิดจากการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนควรจะต้องจัดสภาพแวดล้อม ทางการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนด้วย
            ทฤษฎีพัฒนาการของบรูนเนอร์
              ได้อธิบายว่าความพร้อมของเด็กสามารถจะปรับได้ ซึ่งสามารถจะเสนอเนื้อหาใดๆ แก่เด็กในอายุเท่าใดก็ได้แต่จะต้องรู้จัการจัดเนื้อหา และวิธีการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของงเด็กเหล่านั้น ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจเด็ก และรู้จักกระตุ้นโดยการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
            ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน
              ได้อธิบายว่า การพัฒนาการทางบุคลิกภาพย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์กับสภาพสังคมที่มีอิทธิพลมาเป็นลำดับขั้นของการพัฒนาและจะสืบเนื่องต่อๆไป เด็กที่มีสภาพสังคมมาดีก็จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วย ดังนั้นผู้สอนควรจะสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียนให้ความสนใจเพื่อแก้ปัญหาค่านิยมบางประการ
            ทฤษฎีพัฒนาการของกีเซล
              ได้อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการซึ่งจะเป็นไปตามธรรมชาติและเมื่อถึงวัยก็สามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆได้เอง ไม่จะเป็นต้องฝึกหรือเร่งเมื่อยังไม่พร้อม ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
                              ทฤษฎีการสื่อสาร
              การสื่อสาร (communication )คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
                              ทฤษฎีระบบหรือการคิดอย่างกระบวนระบบ
( Systemic Thinking)
              ระบบ หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นมาเป็นหนึ่งเดียว มีความสัมพันธ์กันในทางหนึ่งทางใดรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน กระทำการเพื่อความสำเร็จตามที่ต้องการ
              ทฤษฎีระบบ (Systems theory) จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา

                            องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ
                              ทฤษฎีการเผยแพร่
              การเผยแพร่(Diffusion)หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย
              ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
                              ความสัมพันธ์กันระหว่างเทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
              ดังนั้นการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542  ที่มีการบัญญัติไว้ในหมวด 9  ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิด การสอนด้วยเทคโนโลยี มากกว่า การสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี